RSV ไวรัสร้ายสู่ลูกน้อย พบมากในทารกและเด็กเล็ก
เชื่อว่าคุณแม่หลายคนคงเคยได้ยินชื่อ RSV กันมาบ้างแล้ว ยิ่งในวันที่อากาศเปลี่ยนแปลงบ่อยทั้งแดดออกฝนตกก็ยิ่งทำให้ลูกน้อยมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ RSV นี้ได้แต่อย่างเพิ่งกังวลไปค่ะก่อนอื่น…เรามาทำความรู้จักกับโรคนี้กันดีกว่าค่ะ
RSV คืออะไร
เป็นเชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคในระบบทางเดินหายใจโดยเฉพาะในเด็กเล็กเชื้อไวรัสนี้สามารถทำให้เกิดภาวะปอดอักเสบได้เนื่องจากมักเกิดพยาธิสภาพในส่วนของหลอดลมเล็กและถุงลม ทำให้มีการสร้างสิ่งคัดหลั่งเช่นเสมหะออกมาในปริมาณมากและมีการหดตัวของหลอดลมเนื่องจากการบวมของเยื่อบุหลอดลมและทางเดินหายใจต่างๆพบผู้ที่ติดเชื้อไวรัส RSV ได้ในทุกวัยแต่พบมากในเด็กและทารกซึ่งเป็นวัยที่มักเกิดอาการรุนแรงและภาวะแทรกซ้อนได้
สาเหตุของการติดเชื้อไว้รัส RSV
การติดเชื้อ RSV จากการรับเชื้อทางเดินหายใจเช่นไอจามน้ำมูกสารคัดหลั่งจากคนสู่คนโดยการสัมผัสหรือละอองน้ำมูกของผู้ป่วยคนอื่นและมีระยะฟักตัวประมาณ 2-7 วันเฉลี่ย 4 วันและอาจส่งผลรุนแรงถึงขั้นเป็นโรคปอดบวมปอดอักเสบและหอบหืดได้
อาการของการติดเชื้อไวรัส RSV
อาการเริ่มต้นจะมีน้ำมูกใสต่อมามีอาการไอจามไข้ต่ำๆไข้อาจจะมีหรือไม่ก็ได้ขึ้นกับภูมิต้านทานแต่ละคนถ้าเป็นในเด็กโดยเฉพาะเด็กเล็กจะมีอาการปอดบวมไอหอบได้ง่ายเด็กจะมีอาการหายใจเร็วหอบเหนื่อยบางครั้งเป็นมากจะหายใจดัง “วี้ด” ถ้าเป็นมากขึ้นจะมีอาการหายใจล้มเหลวได้เช่นหน้าอกบุ๋มกระสับกระส่ายซึมกินไม่ได้โดยแพร่เชื้อได้นานประมาณ 3-8 วันส่วนมาก 3-4 วันแรกโดยผ่านสารคัดหลั่งเช่นน้ำมูก/ น้ำลายทั้งนี้เด็กที่ป่วยเป็น RSV แล้วสามารถเป็นซ้ำได้หลายครั้งตลอดชีวิตแต่อาการจะน้อยลงถ้าในเด็กโตจะอาการน้อยกว่าเด็กเล็กตามอายุ
วิธีป้องกันการติดเชื้อไวรัส RSV
ในประเทศไทยยังไม่มีวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัส RSV ทำให้เด็กๆมีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อไวรัสในช่วงที่แพร่ระบาดได้มากโดยเฉพาะสถานที่ที่เด็กอยู่กันมากๆเช่นโรงเรียนหรือสถานรับลี้ยงเด็กดังนั้นสิ่งที่จะช่วยให้ลูกไม่ป่วยจากโรคนี้คือการมีร่างกายที่แข็งแรงและรู้จักวิธีหลีกเลี่ยงภาวะเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคด้วยวิธีดังต่อไปนี้
– ล้างมือบ่อย ๆ หลังจากทำกิจกรรม หรือก่อนกินอาหาร
– งดไปในสถานที่แออัด เช่น โรงเรียน สถานเลี้ยงเด็ก
– ทำความสะอาดของเล่น
– ผู้ป่วยต้องปิดปากหรือใส่หน้ากากอนามัยเวลาไอจามเพื่อป้องกันการติดเชื้อ หรือเมื่อต้องไปอยู่ในสถานที่ที่มีคนแออัด
นอกจากวิธีการป้องกันข้างต้นแล้วอยากจะฝากถึงคุณพ่อ-คุณแม่หากลูกน้อยของเราเริ่มไม่สบายเข้าแล้วทางที่ดีให้พาไปพบคุณหมอเพื่อตรวจให้ละเอียดนะคะโดยเมื่อเด็กได้รับไวรัสนี้จะต้องรักษาตามอาการเช่นระวังการขาดน้ำเพราะจะยิ่งทำให้เสมหะเหนียวข้นและเชื้อลงปอดอาจต้องใช้ยาพ่นร่วมกับ Oxygen เพื่อช่วยขยายหลอดลมรับประทานยาลดไข้ตามอาการทุก 4 – 6 ชั่วโมงพร้อมกับเช็ดตัวลดไข้นอนพักผ่อนเยอะๆ ร่างกายก็จะฟื้นตัวอย่างช้าๆ ใช้เวลาประมาณ 7 – 14 วันจึงจะหายแต่หลังจากหายแล้วหลอดลมและถุงลมฝอยของเด็กจะมีอาการอักเสบได้ง่ายเมื่อติดเชื้อครั้งใหม่ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ต้องดูแลเป็นพิเศษทั้งเรื่องอาหารและการออกกำลังกายในช่วงอากาศเปลี่ยนแปลง
ที่สำคัญควรแยกเด็กออกจากเด็กปกติเพื่อป้องกันการไอจามแพร่เชื้อให้กับผู้คนที่อยู่รอบข้างถ้าลูกเริ่มเข้า Nursery หรือโรงเรียนแล้ว คุณพ่อคุณแม่ควรให้ลูกหยุดเรียนอย่างน้อย 1-2 สัปดาห์จนกว่าจะหายเป็นปกติด้วยนะคะ
Comments are closed.