เทคนิคเติมพลังสมอง 3 ช่วงวัย สร้างการเรียนรู้ไม่สิ้นสุดสำหรับลูกน้อย กับ Foremost School Smart

การเป็นคุณแม่คุณพ่อ เป็นธรรมดาที่เคยมีบ้างที่รู้สึกกังวลว่า ลูกน้อยจะทานอาหารครบถ้วนหรือไม่ กลัวว่าลูกจะได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ และคิดอยู่เสมอว่าโภชนาการที่ดีนั้นเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่สามารถพัฒนาศักยภาพของลูกได้ มาดูกันว่าเทคนิคตัวช่วยเติมพลังสมอง 3 ช่วงวัย กับ 5 ขั้นตอน สร้างการเรียนรู้ให้ลูกน้อยไม่มีสิ้นสุดนั้นมีอะไรสำคัญๆ กันบ้างค่ะ

academic article

_MG_0829

การสร้างกระบวนการรู้คิดของเด็กปฐมวัยและเด็กวัยเรียน การคิดนั้นเป็นกระบวนการทำงานของสมองที่มีประสิทธิภาพ ส่วนหนึ่งมาจากการฝึกฝน การฝึกให้สมองสามารถทำงานอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดเป็นเรื่องของการคิด เพราะถ้าหากสมองคิดเป็นก็เรียกได้ว่าคน ๆ นั้นเป็นคนที่มีศักยภาพมีประสิทธิภาพใช่ไหมค่ะ การคิดเป็น คือการทำงานของสมองที่เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ เพียงแต่ว่าเราจะต้องจัดการเรียนรู้หรือจัดสิ่งกระตุ้นให้มากพอที่สมองจะได้ฝึกคิด การคิดสามารถพัฒนาและฝึกฝนได้ การคิดและการเรียนรู้มีการปรับเปลี่ยนให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมมาโดยตลอด กระบวนการรู้คิดนั้นจะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยคุณภาพของสมอง รวมถึงโภชนาการที่เหมาะสมและกิจกรรมกระตุ้นการพัฒนาการตามช่วงวัยด้วยค่ะ

_MG_1031

การเรียนรู้ในวัยเยาว์ คุณครูและคุณพ่อคุณแม่อย่าพลาดโอกาสที่จะพัฒนาสมองเด็กหรือลูกน้อยเพื่อการเรียนรู้ที่ดีนะคะ จากการศึกษา อาจารย์ ดร. วสุนันท์ ชุ่มเชื้อ บอกไว้ว่า การพัฒนากระบวนการรู้คิดในเด็กควรทำอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ 3-12 ปี ค่ะ

กระบวนการรู้คิดมีทักษะอยู่ 5 อย่างด้วยกันค่ะ

  1. การพัฒนา IQ เพื่อการจดจำที่ดี
  2. การยับยังชั่งใจ
  3. การรู้เวลาและหน้าที่ สามารถเปลี่ยนกิจกรรมหนึ่งไปทำกิจกรรมหนึ่งได้โดยไม่มีข้อติดขัด
  4. มีความตั้งใจจดจ่อในสิ่งที่ทำ
  5. รู้จักวางแผนและการจัดการ

นอกจากกระบวนการรู้คิดแล้วคุณพ่อคุณแม่ต้องสอนให้ ลูกคิดบวกคิดดี สร้างพัฒนาการของลูกด้วย  การกระตุ้นพัฒนาการเพื่อพัฒนาเพื่อการพัฒนาสมอง มี 5 ขั้นตอนค่ะ

  1. การสร้างพื้นฐานอารมณ์
  2. ส่งเสริมประสาทและการเคลื่อนไหว
  3. การเรียนรู้ตัวเอง
  4. การเรียนรู้ผู้อื่น
  5. การส่งเสริมกระบวนการรู้คิดเพิ่มศักยภาพสติปัญญาและการวิเคราะห์

สมองและความจำดี ….. เริ่มต้นที่ “ อาหาร ” อาหารสมองที่นักโภชนาการแนะนำและถือเป็นสุดยอดสารอาหารเพิ่มศักยภาพการพัฒนาสมองของลูกวัยเรียนคือ 

  • กรดไขมัน DHA
  • โอเมก้า 3 6 9
  • วิตามิน B6
  • ไอโอดีน
  • ธาตุเหล็กและแร่ธาตุอื่นๆ แคลเซียม วิตามิน A C E วิตามิน B1 และ B2 รวมทั้งโฟเลตและแพนโทเทนิก

_MG_0816

สมองต้องการสารอาหารอย่างครบถ้วนเพื่อการทำงานที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งรวมถึงการจดจำข้อมูลต่างๆ เด็กที่ได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ นอกจากจะทำให้ร่างกายไม่เจริญเติบโตแล้ว ในระยะเริ่มแรกเด็กจะขาดสมาธิ และเลี้ยงยากค่ะ  อาหารบำรุงสมองสำหรับเด็กวัย 3-12 ปี มีในอาหาร 5 หมู่ เช่น ปลาทะเล ปลาทู ปลาแซลมอน ไข่ ผักใบเขียว ถั่ว ตับ ส้ม มะละกอ น้ำมันมะพร้าว น้ำมันดอกทานตะวัน และผักที่มีสีสันอย่างเช่น พริกหวาน ฟักทอง แครอท

อาหารบำรุงสมองที่กล่าวมาข้างต้นนั้นคุณค่าโภชนาการทั้งหมด ก็มีอยู่ครบใน “นม” หนึ่งกล่องค่ะ  เด็กๆ ควรดื่มนมเป็นประจำทุกวัน นมเป็นอาหารเสริมพลังสมอง เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่สะดวกสำหรับครอบครัวยุคใหม่ค่ะ ยิ่งดื่มนมที่มีส่วนผสมของ DHA ยิ่งดีต่อลูกน้อยด้วยค่ะ โภชนาการที่มีประโยชน์และมีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของลูกน้อยคือ DHA ที่เป็นสารอาหารที่มีผลต่อการพัฒนาสมอง มีส่วนช่วยให้ลูกมีสมาธิ ความจำและการคิดวิเคราะห์ค่ะ

_MG_1123

ดื่ม “นม” เพิ่มพลังสมอง

ปฏิเสธไม่ได้ว่า “นม” เป็นอาหารที่มีประโยชน์และอุดมไปด้วยแร่ธาตุและสารอาหาร ซึ่งเป็นสิ่งที่ร่างกายของเราควรจะได้รับ ด้วยเหตุนี้ทุกโรงเรียนในระดับปฐมวัยและโรงเรียนประถม  จึงจัดให้มีการดื่มนมเป็นอาหารเสริมเพิ่มพลังการเรียนรู้ให้สมอง ผู้ผลิตนมรายใหญ่อย่างโฟร์โมสต์ บริษัท ฟรีสแลนด์คัมพิน่า (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) บอกว่านโยบายเพื่อสังคมของโฟร์โมสต์ให้ความสำคัญกับความพยายามรณรงค์ให้ทุกคนเกิดความเข้าใจว่าการดื่มนมให้มากขึ้นอย่างน้อยวันละ 2 กล่องให้ประโยชน์หลายต่อ ทั้งเรื่องความสูง  ความแข็งแรงของร่างกาย และยังเป็นการเติมอาหารให้สมองในช่วงวัยที่เหมาะสมอย่างต่อเนื่องซึ่งจะส่งผลดีในการพัฒนาศักยภาพและคุณภาพความสามารถของเด็กและเยาวชนในอนาคตค่ะ 

_MG_0838

ช่วงวัยสำคัญของเด็กที่พ่อแม่ไม่ควรพลาดโอกาสทองในการพัฒนาสมองลูกมีอยู่ 3 ช่วงคือ 3-6 ปี 6-10 ปี และ 10-12 ปี ขั้นตอนพัฒนาทักษะการเรียนรู้ 5 ขั้นตอนประกอบด้วย พัฒนาพื้นฐานอารมณ์  พัฒนาประสาทสัมผัสและการเคลื่อนไหว  พัฒนาการรับรู้ตนเอง  พัฒนาการรับรู้ผู้อื่น  พัฒนากระบวนการรู้คิด โดยใช้เทคนิควิธีการส่งเสริมการเรียนรู้ทั้ง 5 ขั้นตอนนั้นแตกต่างกันตามวัยค่ะ

  • ช่วง 3-6 ปี ใช้เทคนิค เล่นบทบาทสมมติและเล่านิทาน
  • ช่วง 6-10 ปี ใช้เทคนิค เล่านิทานและชวนท่องเที่ยวสำรวจโลกกว้าง
  • ช่วง 10-12 ปี ใช้เทคนิค ชวนลูกเที่ยวผจญภัยและให้สะท้อนอารมณ์ความรู้สึก เช่น การออกค่ายอาสา

การเลือกหนังสือนิทานคุณพ่อคุณแม่ต้องคำนึงถึงประโยชน์ที่เด็กจะได้รับด้วยนะคะ ในการส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กด้วย เช่น สอนให้รู้จักคำเรียกชื่อสิ่งของต่างๆ เปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงออกพัฒนาความคิด จินตนาการ ให้ความรู้สึกที่ดีต่อเด็ก มีความตลกขบขันให้ความสนุกสนาน ช่วยแก้ปัญหาให้กับตัวเด็ก เมื่อเปรียบเทียบตนเองกับตัวละคร เป็นต้น

_MG_0805

ขอบคุณข้อมูลจากโฟร์โมสต์และติดตามสาระดีๆ เพื่อการเรียนรู้ต่อเนื่องกัโฟร์โมสต์ได้ทันที

ผู้ที่สนใจสามารถดาวน์โหลดฟรีคู่มือ “5 Steps การเรียนรู้สู่พลังสมองลูก” ได้ที่ www.facebook.com/foremostmomtalk

cute7 

 

zp8497586rq

Comments are closed.