คนท้องและเด็กเล็ก ใช้สิทธิจากบัตรทองทำอะไรได้บ้าง
หลายๆ คนคงรู้จักกับคำว่าบัตรทอง
เป็นอย่างดี แต่เชื่อได้เลยว่า คุณแม่ตั้งครรภ์และมีลูกเล็กเด็กแดงส่วนใหญ่
กลับไม่รู้เลยว่า ตนเองมีสิทธิพิเศษเหนือกว่าคนประเภทอื่นๆ อยู่ เพราะเราสามารถใช้สิทธิบัตรทองตรงนี้มารักษาพยาบาล
และช่วยคุ้มครองด้านสุขภาพได้เยอะแยะมากมาย หากใครไม่เคยรู้มาก่อนไม่เป็นไร
เพราะเราจะพาทุกคนไปสูบข้อมูลพร้อมๆ กัน จะได้ใช้สิทธิให้คุ้มกันไปข้างเลยล่ะ
สิทธิบัตรทองนั้นคืออะไร
สิทธิบัตรทอง หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้านั้น
เป็นสิ่งที่รัฐบาลจัดขึ้นเพื่อประชาชนชาวไทย
เพื่อรักษาคุ้มครองสุขภาพตั้งแต่เกิดยัน 60 ปีขึ้นไป
โดยเราจะต้องไปทำเรื่องขอใช้สิทธิบัตรทองกับสถานพยาบาลที่ได้เลือกไว้
เมื่อเจ็บป่วย คลอดลูก ทำฟันหรืออุบัติเหตุฉุกเฉิน เราก็จะจ่ายแค่เพียง 30 บาทเท่านั้น คุ้มมากๆ เลยล่ะเห็นมั้ย
การใช้สิทธิบัตรทองกับเด็กเล็ก
ทางรัฐบาลต้องการแบ่งเบาภาระคุณพ่อคุณแม่
จึงได้ออกกฎสิทธิบัตรทองที่ครอบคลุมค่าใช้จ่ายในด้านการให้วัคซีนและยาต่างๆ
ในกลุ่มเด็ก 2 วัย ได้แก่
– อายุ 0-5 ขวบ ให้วัคซีนและยารักษาโรคต่างๆ จวบจนกระทั่งตรวจพัฒนาการต่างๆ
ของเด็กให้โตไปตามวัย
– อายุ 6-24 ขวบ สำหรับวัยนี้ จะเน้นด้านการฉีดวัคซีนป้องกันวัณโรค คอตีบ บาดทะยัก โปลิโอ
หัด หัดเยอรมัน คางทูม ไข้หวัดใหญ่ โลหิตจางและธารัสซีเมีย
คนท้องใช้สิทธิอะไรจากบัตรทองได้บ้างนะ
เนื่องจากสิทธิบัตรทองคุ้มครองค่าใช้จ่ายในการรักษาไม่เพียงต่อลูกน้อยเท่านั้น
ยังคุ้มครองไปถึงคุณแม่ตั้งครรภ์ทั้งหลายอีกเช่นกัน โดยทั้ง 8 ประการนี้ ฟรีหมด!
– ฝากครรภ์
– ตรวจโลหิตจางธารัสซีเมีย ทั้งคุณแม่ตั้งครรภ์และสามี
– ตรวจดาวน์ซินโดรม ให้หญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุมากกว่า 35
ปี
– ตรวจภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ในเด็กแรกเกิด
– การป้องกันการยุติการตั้งครรภ์ที่ไม่ปลอดภัย
– การฝังยาคุมกำเนิดในหญิงต่ำกว่า 20 ปี
– การฝังยาคุมกำเนิดในหญิงอายุ 20 ปีขึ้นไป
กรณีหลังยุติการตั้งครรภ์
– การตรวจมะเร็งปากมดลูก
อีกทั้ง คุณแม่ที่มีอายุครรภ์มากกว่า 4 เดือนขึ้นไป
ยังได้รับสิทธิฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ฟรี! และมีสิทธิในการทำคลอดได้ไม่เกิน
2 ครั้ง
ดีขนาดนี้ อยากสมัครต้องทำยังไง
1. มีสัญชาติไทย
2. มีเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก
3. ไม่มีสิทธิประกันสังคมหรือสวัสดิการข้าราชการ
และรัฐวิสาหกิจ
ต่อจากนั้น ก็ทำการลงทะเบียนได้ง่ายๆ ด้วย 3 ตัวเลือก
ต่อไปนี้
1. ลงทะเบียนด้วยตนเอง
– กรณีต่างจังหวัด ติดต่อที่สถานีอนามัย
โรงพยาบาลรัฐ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 1-12 คลินิกชุมชน
ศูนย์บริการสาธารณสุข
– กรณี กทม. ติดต่อที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
เขต 13 จุดรับลงทะเบียนสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเขต 19
2. ลงทะเบียนผ่านโทรศัพท์
ทำได้ง่ายๆ โดยการตรวจสอบสิทธิอัตโนมัติ โทร 1330
กด 2 ตามด้วยเลขบัตรประชาชน กด # กดโทรออก
3. ลงทะเบียนผ่านทางเว็บไซต์
– เว็บไซต์ สปปช.
– Application สปสช.
และนี่ก็นับว่าเป็นสิทธิการดูแลสุขภาพชั้นสุดยอดที่มีแต่คนไทยเท่านั้นที่จะมีโอกาสได้รับสิ่งดีๆ
แบบนี้จากรัฐบาล ซึ่งหากใครที่สนใจก็ลองตรวจสอบสิทธิกันดูก่อนได้
ตามข้อมูลข้างต้นที่เรานำมาบอกทุกๆ คนได้เลย เพราะนี่คือสิทธิประโยชน์ที่เราได้รับ
Comments are closed.