Site icon ไลฟ์สไตล์คุณแม่สมัยใหม่ : blogger แม่และเด็ก

ตอบทุกคำถาม “นมแม่” มีแอลฟา-แลคตัลบูมินจริงหรือ?

นอกจากสุขภาพของลูกน้อยที่แข็งแรงแล้ว คุณพ่อคุณแม่หลายคนคงคาดหวังให้ลูกน้อยเติบโตขึ้นมาอย่างฉลาด สมวัย แต่พัฒนาการสมองและความฉลาดขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย  ทั้งจากตัวเด็ก พันธุกรรม การเลี้ยงดู และการได้รับสารอาหารที่หลากหลาย รวมทั้ง แอลฟา-แล็คตัลบูมิน โปรตีนคุณภาพ ที่พบมากในนมแม่

แอลฟา-แล็คตัลบูมิน คือ โปรตีนคุณภาพที่พบมากในน้ำนมแม่ซึ่งเป็นสารตั้งต้นในการสร้างสารสื่อประสาท ประกอบด้วยกรดอะมิโนจำเป็นสำคัญ ได้แก่ ซิสเตอีนและทริบโตเฟน ในปริมาณสูง ทั้งยังเป็นองค์ประกอบสำคัญในกระบวนการสังเคราะห์แลคโตสในต่อมน้ำนม ดังนั้น “น้ำนมแม่” ซึ่งมีความเข้มข้นของแอลฟา-แล็คตัลบูมินสูง จึงเป็นแหล่งโปรตีนสำคัญที่ช่วยในการพัฒนาสารสื่อประสาทและเป็นสารอาหารสำคัญต่อโภชนาการของทารก

มหัศจรรย์คุณค่า “นมแม่”

ทารกที่ดื่มนมแม่จะมีพัฒนาการของระบบประสาทที่ดี นอกจากนี้ ระยะเวลาในการดื่มนมแม่ยังส่งผลต่อความฉลาดของเด็กด้วย มีงานวิจัยศึกษาหลายฉบับ แสดงให้เห็นว่า เด็กที่ทานนมแม่จะฉลาด มีการเรียนรู้ ความจำดีกว่าเด็กที่ไม่ได้ทานนมแม่ ขณะเดียวกันก็จะมีการนอนหลับได้ดีกว่าด้วย

ในเด็กเล็กควรได้รับนมแม่ ซึ่งมีสารอาหารครบรวมทั้งแอลฟา-แล็คตัลบูมิน ซึ่งเป็นโปรตีนคุณภาพ ย่อยและดูดซึมง่าย และให้ ทริบโตเฟน ที่ช่วยสร้างสารเซโรโทนิน ซึ่งมีส่วนช่วยในการควบคุมการนอนหลับ โดยร่นระยะเวลานอนให้หลับเร็วขึ้น

 

จากการศึกษาของ Horwood LJ และคณะ ในเด็กอายุ 7-8 ปีพบว่า การเพิ่มระยะเวลาการให้นมแม่มีส่วนสัมพันธ์กับ ไอคิวด้านภาษา (Verbal IQ) และ ไอคิวด้านปฏิบัติ (Performance IQ) โดยเด็กที่ทานนมแม่จนอายุ 8 เดือนหรือนานกว่ามีค่าเฉลี่ยของคะแนนไอคิวด้านภาษาสูงกว่าเด็กที่ไม่ได้ทานนมแม่อยู่ 10.2 คะแนน และไอคิวด้านปฏิบัติสูงกว่าเด็กที่ไม่ได้ทานนมแม่อยู่ 6.2 คะแนน สูงกว่าเด็กที่ไม่ได้ทานนมแม่ นอกจากนี้ ระยะเวลาการให้นมแม่อาจจะมีส่วนสัมพันธ์กับพัฒนาการการรับรู้ในระยะยาวของเด็กด้วย

 

ข้อมูลอ้างอิง

Exit mobile version