สิ่งที่จำเป็นอีกอย่างหนึ่งในการดูแลลูกน้อยของเราก็คือการเตรียมยาสามัญประจำบ้านให้พร้อมอยู่เสมอเพราะคุณพ่อ-คุณแม่ไม่รู้เลยว่าเวลาใดลูกน้อยของเราจะมีอาการเจ็บป่วยเล็กน้อยขึ้นมาเมื่อใด ดังนั้นการเตรียมรับมือถือว่าเป็นเรื่องที่ดีและยังสามารถทุเราความเจ็บปวดของลูกเราได้ดีอีกด้วย
สำหรับยาที่จำเป็นต้องมีติดบ้านไว้ ดังนี้ค่ะ
1. ยาแก้ปวดท้อง ท้องอืด ขับลม
มหาหิงคุ์จะเป็นยาใช้เฉพาะที่สำหรับทาภายนอก ไม่ว่าจะเด็กเล็กหรือเด็กโตสามารถใช้ได้อย่างปลอดภัยโดยใช้ทาบริเวรณหน้าท้องรอบๆสะดือหรืออาจทาฝ่ามือฝ่าเท้าด้วยโดยในยาน้ำมหาหิงคุ์จะมีน้ำมันหอมระเหยที่สามารถช่วยกระตุ้นให้เกิดการเคลื่อนไหวของทางเดินอาหารได้และทำให้เด็กรู้สึกสบายท้องมากขึ้นส่วนยากินเพื่อบรรเทาอาการท้องอืดท้องเฟ้อนั้นจะเป็นพวกยาน้ำโซเดียมไบคาร์บอเนตหรือไซเมทิโคนชนิดน้ำเชื่อมค่ะ
2. ยาทาผื่นผ้าอ้อมสำหรับเด็กเล็ก
ผื่นผ้าอ้อมคือการปล่อยให้เด็กสวมผ้าอ้อมที่เปียกชื้นหรือสกปรกอยู่นานเกินไปแอมโมเนียและแบคทีเรียอื่นๆในปัสสาวะและอุจจาระผ่านเกราะป้องกันผิวตามธรรมชาติที่บอบบางของเด็กทำให้เกิดความระคายเคืองและอักเสบขึ้นนอกจากนี้ยังอาจเกิดจากอาการแพ้ทิชชู่เปียกที่มีส่วนผสมของน้ำหอมผลิตภัณฑ์ซักผ้ารวมถึงผ้าอ้อมสำเร็จรูปเมื่อคุณแม่สังเกตเห็นรอยผื่นผ้าอ้อมเมื่อใดก็สามารถใช้ยานี้บรรเทาอากาศเจ็บแสบที่ผิวลูกได้ สำหรับยาทาผื่นผ้าอ้อมนั้นมีหลายยี่ห้อก่อนที่จะใช้ให้ลูกน้อยคุณแม่ควรทดสอบอาการแพ้ในแต่ละยี่ห้อก่อนนะคะ
3. ยาสำหรับทาเวลาแมลงสัตว์กัดต่อย
เมื่อลูกถูกแมลงสัตว์กัดต่อยหรือเมื่อมีผดผื่นคันส่วนใหญ่จะมีอาการอักเสบของผิวหนังซึ่งผิวหนังบริเวณนั้นอาจจะมีอาการปวดบวม หรือมีอาการคันร่วมด้วยดังนั้นยาที่ใช้จะเป็นยาที่ช่วยบรรเทาอาการเหล่านั้นโดยจะใช้เป็นขี้ผึ้งสำหรับเด็กหรือยาทาแก้คันแต่ละยี่ห้อก็ได้ซึ่งในสมัยนี้ยาทาแก้คันแมลงสัตว์ดักต่อยมีออกมาให้คุณแม่เลือกมากมายคุณแม่ทดสอบยาที่ใช้กับลูกน้อยได้ผลดีและไม่มีอาการแพ้เท่านั้นก็สามารถซื้อติดตู้ยาไว้ได้เลยค่ะ
4. วิกส์ หรือน้ำมันยูคาลิปตัส
เมื่ออากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย และลูกของเราปรับสภาพร่างกายไม่ทัน ส่งผลให้ลูกมีอาการคัดจมูกน้ำมูกไหลหายใจครืดคราดไม่สะดวกโดยเฉพาะเวลานอนเราจึงควรมีวิกส์หรือน้ำมันยูคาลิปตัสติดบ้านไว้ใช้กรณีจำเป็นแต่การทาวิกส์หรือน้ำมันยูคาลิปตัสนั้นไม่อยากให้ทาที่ผิวของลูกน้อยโดยตรงนะคะขอแนะนำให้ทาบริเวณเสื้อผ้าเพียงให้ลูกได้กลิ่นอ่อนๆดีกว่าเพราะหากลูกสัมผัสตัวยาโดยตรงอาจะมีผลข้างเคียงที่ทำให้ผิวร้อนหรือไหม้ได้ค่ะ
5. ท้องเสีย เกลือแร่สำหรับเด็ก
เด็กที่มีอาการท้องเสียอาจเกิดจากการกินอาหารหรือน้ำที่ไม่สะอาดนั้นอาการท้องเสียจะสามารถหายได้เองโดยไม่ต้องกินยาแต่การที่มีเกลือแร่ติดบ้านไว้ เพื่อป้องกันอาการขาดน้ำของลูกแม้ว่ายาตัวนี้จะไม่ได้ช่วยให้หยุดถ่ายแต่ช่วยเพิ่มพลังงานและเกลือแร่ที่ร่างกายสูญเสียไปจากการขับถ่ายได้ค่ะ
6. ยาลดไข้ พาราเซตามอลสำหรับเด็ก
สำหรับเด็กเล็กๆควรให้เป็นยาน้ำที่มีรสหวานหรือมีน้ำเชื่อมผสมอยู่กินเพื่อให้อาการตัวร้อนหรืออาการไข้ลดลงแต่ที่สำคัญการให้ลูกน้อยกินยาลดไข้นั้นต้องการสลากข้างขวดยาให้ดีเพราะในแต่ละช่วงวัยรวมถึงน้ำหนักก็มีการให้ปริมาณยาที่แตกต่างกันเพื่อป้องกันไม่ให้ลูกได้รับยาที่มากหรือน้อยเกินไปค่ะ
7. ยาแก้แผลฟกช้ำ และเจลประคบร้อน-เย็น
แทบจะไม่มีเด็กคนไหนไม่ซนเพราะฉะนั้นการมียาหรือเจลประคบร้อน-เย็นสำหรับการฟกช้ำถือเป็นสิ่งจำเป็น
เพราะเมื่อลูกน้อยเกิดหกล้มขึ้นมา ถุงประคบเย็นจะช่วยลดอาการบวมแดง ทำให้อาการของแผลฟกช้ำไม่กระจายบวมใหญ่เป็นวงกว้าง หรือถ้าไม่มี คุณแม่สามารถใช้ผ้าห่อน้ำแข็งประคบที่แผลของลูกได้ หรือจะใช้ยาที่ช่วยบรรเทาอาการแผลฟกช้ำสำหรับเด็กโดยตรงก็มีตามท้องตลาดทั่วไปค่ะ
8. น้ำเกลือ เบตาดีน และ พลาสเตอร์ติดแผล
เมื่อลูกน้อยเจ็บตัวในกรณีฉุกเฉิน โดยบาดแผลไม่ลึกมากแต่มีเลือดออกอุปกรณ์ในกลุ่มยารักษาแผลสดถือเป็นสิ่งที่จำเป็น ทั้งไม่ว่าจะเป็นน้ำเกลือแอลกอฮอล์ล้างแผลยาแดง เบตาดีน อุปกรณ์ทำแผลสำลีก้อนสำลีก้านผ้าพันแผลพลาสเตอร์ฯลฯ โดยคุณแม่ต้องตรวจเช็ควันที่ผลิตและวันหมดอายุที่ยาและอุปกรณ์เป็นประจำด้วยนะคะ